.

.

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤณ   แจ่มถิน
วันที่ 17  กุมภาพันธ์  2558 
เวลา 14.10 - 15.30 น.




การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่  การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน



การสร้างความอิสระ
                   เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
                   อยากทำงานตามความสามารถ
                   เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
                   การได้ทำด้วยตนเอง
                   เชื่อมั่นในตนเอง
                   เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
                   ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
                   ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
                   ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
                   หนูทำช้า   หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่
                   เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
                   หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
                   เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
                   มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)


ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
                  แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
                  เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
                  เข้าไปในห้องส้วม
                  ดึงกางเกงลงมา
                  ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
                  ปัสสาวะหรืออุจจาระ
                  ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
                  ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
                  กดชักโครกหรือตักน้ำราด
                  ดึงกางเกงขึ้น
                  ล้างมือ
                  เช็ดมือ
                  เดินออกจากห้องส้วม

การวางแผนทีละขั้น
                  แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด



กิจกรรมบำบัด




วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤณ   แจ่มถิน
วันที่ 10  กุมภาพันธ์  2558 
เวลา 14.10 - 15.30 น.





การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

2. ทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
                   เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
                   ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
                   ถามหาสิ่งต่างๆไหม
                   บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
                   ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
                   การพูดตกหล่น
                   การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
                   ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
                   ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
                   ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   ตามสบาย   คิดก่อนพูด
                   อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
                   อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
                   ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
                   เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
                   ทักษะการรับรู้ภาษา
                   การแสดงออกทางภาษา
                   การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


                                                   
เด็กตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่
ใช่
ไม่
บางครั้ง
- เสียงของครูโดยการหันมามอง
- ต่อคำถาม จะเอาอะไรด้วยการชี้
- ต่อประโยค ช่วยเอาให้ที
- “หาให้หน่อยเมื่อครูไม่มีท่าประกอบ
- “จะเอานี่ใช่ไหม โดยการพยักหน้า
- กับคำพูด
- “หนูอยากได้อะไร ด้วยการพูด
- “เล่าให้ครูฟังซิ โดยพูดเป็นประโยค
- “ใช้ทำอะไร โดยตอบเป็นวลี หรือประโยค

พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก

                                                  
เด็กเริ่มทำโดย
ใช่
ไม่
บางครั้ง
ทำเสียงต่างๆผสมปนเปกัน
- ทำเสียงคล้ายพูดเพื่อเรียกร้องความสนใจ
- ใช้เสียงสูงต่ำเหมือนจะถามคำถาม
- ชี้ไปยังสิ่งที่ต้องการจะเอา
- ขอสิ่งต่างๆโดยการบอกชื่อ
- พูดเป็นวลีที่มีเสียงคล้ายคำ
- เล่าเรื่องที่เห็นโดยใช้วลีที่มี 2-3 คำ
- เล่าได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
-                    บอกได้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน
-                    บอกเล่าโดยใช้คำคุณศัพท์
-                    ตั้งคำถาม ทำไม
-                    เล่าเรื่องโดยใช้ประโยคที่มีคำเชื่อมกัน
 ตั้งคำถาม อย่างไร

























ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
                   การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
                   ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
                   ให้เวลาเด็กได้พูด
                   คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
                   เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
                   เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
                   ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
                   กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
                   เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
                   ใช้คำถามปลายเปิด
                   เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
                   ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์

(Incidental Teaching)




         จากการเรียนในวันนี้ทำให้เข้าใจในเรื่องทักษะทางภาษาสำหรับเด็ฏปฐมวัย และพฤติกรรมการแสดงออกของเด็ก  ทำให้เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตข้างหน้าได้เป็นอย่างดี รวมทั้งการจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ถูกต้องและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก





  • ประเมินตนเอง 
         มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์ และทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนอย่างตั้งใจ  

  • ประเมินเพื่อน
        เพื่อนมาเรียนกันค่อนข้างตรงเวลา แต่วันนี้ส่วนมากจะคุยกัน เนื่องจากเรียนรวมกันทั้ง2ห้อง แต่เพื่อนๆก็ ตั้งใจกันทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย ผลงานของเพื่อนๆออกมาดีทุกกลุ่ม

  • ประเมินอาจารย์
      อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ทุ่มเทมากในการสอน สามารถสอนนักศึกษารวมกันทั้ง2ห้องได้ ให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่และนำกิจกรรมมาให้นักศึกษาได้ทำ 



วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤณ   แจ่มถิน
วันที่ 3  กุมภาพันธ์  2558 
เวลา 14.10 - 15.30 น. 






การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1. ทักษะทางสังคม
                   เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
                   การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
                   การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
                   เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
                   ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
                   เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
                   ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
                   จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
                   ครูจดบันทึก
                   ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
                   วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
                   คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
                   ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
                   เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครูให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
                   อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
                   ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
                   ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
                   เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
                   ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม 

กิจกรรม : การเล่นทรายโดยครูนำของเล่นมาให้เด็กทีละชิ้น


การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
                   ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
                   ทำโดย การพูดนำของครู


ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
                   ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
                   การให้โอกาสเด็ก
                   เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
                   ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง 



  •     กิจกรรมบำบัด
            อาจารย์ให้จับกลุ่มกัน 2-3 คน โดยการฟังเพลงคนหนึ่งลากเส้นและอีกคนหนึ่งจุด จนกว่าเสียงเพลงจบ 

ภาพกิจกรรม


สรุป :  











         จากการที่ได้เรียนในวันนี้สามารถนำความรู้ด้านการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็ก ไปปรับใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี และในการทำกิจกรรมการวาดเส้นและการจุด ตามจังหวะเสียงเพลง ทำให้เกิดสมาธิซึ้งสามารถเอาไปใช้สอนเด็กให้เกิดสมาธิได้เป็นอย่างดี



  • ประเมินตนเอง
         มาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนอย่างเต็มที่ 

  • ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆ มาเรียนกันตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนดีมาก แต่ก็คุยกันบ้างบางครั้ง ช่วยกันทำผลงานออกมาได้สวยทุกกลุ่ม

  • ประเมินอาจารย์
        อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความตั้งใจและทุ่มเทมากเวลาสอน นำกิจกรรมให้ให้นักศึกษาได้ทำ